โทร

074 - 200200

โทร

074 - 200200

อุบัติเหตุฉุกเฉิน

074 - 200201

"มาลาเรีย" ภัยร้ายจากยุง ป่วยเสี่ยงภาวะแทรกซ้อนอันตรายถึงชีวิต

ฝ่ายการตลาด | 22 เมษายน 2567 เวลา 13:44

โรคมาลาเรีย อีกหนึ่งภัยร้ายจากยุง เมื่อป่วยแล้วเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต

โรคมาลาเรีย อีกหนึ่งภัยร้ายจากยุง เมื่อป่วยแล้วเสี่ยงเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต

    โรคมาลาเรีย หรือที่รู้จักกันในชื่อไข้ป่า ไข้จับสั่น เป็นโรคที่มียุงเป็นพาหะ แต่เป็นคนละชนิดกันกับโรคไข้เลือดออก เพราะโรคไข้เลือดออกจะมียุงลายเป็นพาหะ แต่โรคมาลาเรียจะมี “ยุงก้นป่อง” เป็นพาหะนำโรค สามารถติดต่อจากคนสู่คนได้ ทำให้ระบาดได้ง่ายเป็นวงกว้าง ปัจจุบันมาลาเรียยังเป็นโรคที่พบได้ทั่วโลก มีคนเสียชีวิตจำนวนมาก โดยผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนี้มักอาศัยอยู่บริเวณชายป่าและพื้นที่ที่มีน้ำขังตามธรรมชาติ

 

 

ระยะของอาการป่วยด้วยโรคมาลาเรีย


ระยะแรก คือ จะมีอาการหนาวสั่น ตัวเย็น ชีพจรเต้นเร็ว มีอาการเกร็ง ปัสสาวะบ่อย อุณหภูมิค่อยๆ สูงขึ้น ระยะนี้ใช้เวลา 15-60 นาที เป็นระยะการแตกของเม็ดเลือดแดงที่มีเชื้อมาลาเรีย


ระยะร้อน ผู้ป่วยจะมีไข้สูงถึง 40° ตัวร้อน ลมหายใจร้อน หน้าแดง ปากซีด และกระหายน้ำ ชีพจรเต้นเร็วและแรง ปวดศีรษะลึกเข้าไปในกระบอกตา ระยะนี้ใช้เวลา 1-3 ชั่วโมง


ระยะเหงื่อออก เมื่อสร่างไข้ ไข้ลดลง ผู้ป่วยจะเหงื่อออกและเข้าสู่ภาวะปกติ ระยะเหงื่อออกใช้เวลา 2-4 ชั่วโมง

 


ภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงและเป็นอันตรายถึงชีวิต


ภาวะโลหิตจาง การติดเชื้อมาลาเรียทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย ส่งผลให้การลำเลียงออกซิเจนไปยังกล้ามเนื้อและอวัยวะสำคัญของร่างกายลดลง


มาลาเรียขึ้นสมอง การติดเชื้อมาลาเรียสามารถส่งผลกระทบต่อสมอง อาจทำให้เกิดอาการอ่อนแรง ชัก หรือมีอาการถึงขั้นวิกฤติ


ปอดบวมน้ำ เกิดการสะสมของเหลวในปอด ทำให้มีปัญหาในการหายใจ


• อวัยวะภายในล้มเหลว เช่น ตับ ไต หรือม้าม


• ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ


• ภาวะการหายใจล้มเหลวเฉียบพลัน


• อาการช็อก เนื่องจากความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็ว

 

 

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยตั้งครรภ์
• การคลอดก่อนกำหนด
• แท้งบุตร
• ในกรณีรุนแรง อาจทำให้ผู้ป่วยตั้งครรภ์เสียชีวิต
• ทารกแรกเกิดมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าปกติ
• ทารกเสียชีวิตในครรภ์หรือระหว่างการคลอด
• ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

 

การรักษา
1. ทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด เพื่อให้โรคหายขาดและป้องกันการดื้อยา
2. ไม่ควรซื้อยามาทานยาเองเพื่อป้องกันการดื้อยา
3. อาจมีความจำเป็นต้องใช้ยาฉีดเข้าหลอดเลือดเพื่อรักษามาลาเรีย ผู้ป่วยจะต้องให้ความร่วมมือ เพื่อการหายขาดและไม่เกิดภาวะดื้อยาเช่นกัน

 

วิธีการป้องกันโรคมาลาเรีย
• สวมเสื้อผ้าปกปิดร่างกายให้มิดชิด
• นอนกางมุ้ง โดยเฉพาะเมื่อพักแรมในป่า
• ทาหรือจุดยากันยุง
• บ้านพักอาศัยควรทำลายที่น้ำท่วมขังซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
• ถ้าต้องเข้าไปอยู่ในเขตที่มีไข้มาลาเรียควรปรึกษาแพทย์เพื่อป้องกันไว้ล่วงหน้า